ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
dot
Dhamma : Deutsch
dot
bulletUnterweisung in Meditation
bulletREINIGUNG
bulletREICHTUM
bulletBuddhismus in 10 Minuten
bulletEINSTELLUNG ZUR MEDITATION
bulletDhamma Teworohana
bulletFalsche Ansichten
bulletUMGANG MIT DHAMMA-SCHRIFTEN
dot
ธรรมะไทย
dot
bullet พระพุทธศาสนากับเวลา ๑๐ นาที
bulletโคลงโลกนิติ
bulletศาสนพิธี
bulletคนใจดี คนใจร้าย
bulletบวชเพราะแม่ยาย
bulletเสียงสัตว์ 8 ชนิด
bulletคุณธรรมของหัวหน้า
bulletคุณสมบัติของผู้นำ
bulletบาปเกิดจากความจงใจ
bulletดาบสฌานเสื่อม
bulletโคนันทิวิสาล
bulletบุญที่ให้ทานแก่ปลา
bulletความจริงที่ไม่ควรพูด
bulletอาหารไม่บริสุทธิ์
bulletอานิสงส์การแผ่เมตตา
bulletพระมหาสุบิน ๑๖ ข้อ
bulletคมในฝัก
dot
Nachrichten
dot
bulletรูปภาพกิจกรรมของวัด Bilder Von Versammlung
bulletPhoto Album Wat Pah Puritattaram อัลบั้มรูป
bulletKommendes Fest 2024
bulletFeste im Jahr 2024
dot
เวปไซต์อื่น
dot
bulletLuangpumun (หลวงปู่มั่น)
bulletLuangta (หลวงตามหาบัว)
bulletWat Pah Puritattaram1
bulletWat buddhabharami
bulletWat Dhammabharami
bulletdhammayuteurope
bulletWatpa Copenhagen
bulletวัดป่าโกเธนเบิร์ก สวีเดน
bulletThailife
bulletพระไทยดอทเนต
bulletWat Dhammaniwasa Aachen
bulletวัดจักรวรรดิราชาวาส
bulletwatthaivienna วัดไทยเวียนนา
bullet สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
bulletอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
bulletชาวไทย
bulletสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
bulletสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
bulletค้นหารหัสไปรษณีย์ไทย
bulletค้นหาเบอร์โทรศัพท์ (ไทย)
bulletwatpahgiessen
bulletมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
bulletวัดธัมมธโร ออสเตรเลีย




พระพุทธศาสนากับเวลา ๑๐ นาที

พระพุทธศาสนากับเวลา  ๑๐  นาที  โดยสมเด็จพระญาณวโรดม

.  พระพุทธศาสนา  คือคำสั่งสอนของท่านผู้รู้  (เข้าในพระปัญญาคุณ)    ของท่านผู้ตื่น   ผู้เบิกบานจากกิเลส  (พระบริสุทธิคุณ)  และของท่านผู้สอนให้ผู้อื่นรู้  ปลุกให้เขาตื่น  (พระกระณาคุณ)
๒.  ที่ว่ารู้นั้น  คือรู้ว่า  นี่เป็นทุกข์นะ  นี่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นะ  นี่สุขที่แท้จริงนะ  นี่เป็นเหตุให้ได้สุขนั้นนะ
๓.  พระพุทธศาสนา  มีพระรัตนตรัยเป็นหลักสำคัญ  กล่าวโดยย่อๆ  ดังนี้ :-
พระพุทธ   คือพระพุทธเจ้าผู้ตั้งพระพุทธศาสนา  ท่านเป็นโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน  คือพระเจ้าสุทโธทนะ  แห่งแคว้นสักกะ  ท่านทรงพระนามเดิมว่า  เจ้าชายสิทธัตถะ  ทรงเป็นรัชทายาท  ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้  ด้วยสมบัติมหาศาล  ด้วยพระรูปโฉม  ด้วยพระกำลังสามารถ  ทรงมีพระชายา  มีพระโอรสแล้วท่านทรงสละหมด  ทรงออกบวช  เพื่อค้นหาธรรมเป็นเครื่องทำให้พ้นทุกข์  แล้วนำมาสอนประชาชนให้เขาพ้นทุกข์  ทรงใช้เวลา  ๖  ปีจึงสำเร็จ  ทรงตรัสรู้เองโดยมิได้มีใครสอน  สิ่งที่ทรงตรัสรู้นั้น  คืออริยสัจ  ของจริงอย่างประเสริฐ  แล้วทรงสั่งสอนประชาชนถึง  ๔๕  ปี  จนปรินิพพาน  (ดับ)  โดยมิได้หวังสิ่งตอบแทน  สิ่งที่ทรงสั่งสอนนั้น  เรียกว่า  พระธรรม
 พระธรรม   คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  อันเป็นความจริงที่มีอยู่แล้วในโลก  อันมีทั้งฝ่ายดี  ฝ่ายชั่ว  (ฝ่ายกลาง)  ฝ่ายดี  คนปฏิบัติแล้วย่อมได้ความสุข  ฝ่ายชั่ว  คนทำแล้วย่อมได้ความทุกข์  ท่านทรงให้ละความชั่ว  ทำแต่ความดี  พระธรรมแบ่งเป็นศีลกับธรรม  ศีล  คือเป็นข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ  เช่น  ศีล  ๕  เป็นต้น  มีผลคือทำให้เป็นสุจริตชน  เพราะไม่ฆ่าเขา  ไม่ลัก  ไม่โกง  ไม่ฉ้อเขา  ไม่ประพฤติผิดทางเพศ  ไม่ปด  หลอกลวงเขา  ไม่ดื่มเหล้า  เสพสิ่งเสพติด  มีกัญชา  ฝิ่น  เป็นต้น  (เพียงศีล  ๕  เท่านั้น  ถ้าทุกคนพากันรักษาศีลแล้ว  ทุกคนจะมีความสุข  อย่าว่าแต่  ๕  ข้อเลย  เพียงข้อเดียว  เช่น  ข้อ  ๕  เท่านั้น  ก็เป็นสุขมากแล้ว)  ส่วนธรรมนั้น  เป็นข้อที่ความปฏิบัติ  จะนำไปกล่าวในข้อ  ๔  เป็นต้น
 พระสงฆ์   คือสาวกหรือศิษย์ของพระพุทธเจ้า  เป็นผู้ปฏิบัติดีตรง  ถูกต้องตามธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน  เป็นพยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า  เป็นผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา  เป็นผู้ค้ำจุน  รักษา  สร้างความเจริญก้าวหน้าแพร่หลายแก่พระพุทธศาสนา  เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน  เป็นผู้แนะนำสั่งสอนประชาชนด้วยพุทธธรรม  ให้ไม่ทำสิ่งที่ชั่ว  ให้ทำแต่สิ่งที่ดี  เป็นผู้นำพัฒนาบุคคล  พัฒนาท้องถิ่น  บำเพ็ญสาธารณประโยชน์  โดยไม่ต้องรบกวนรัฐบาล  และท่านเป็นเครื่องหมายแห่งความมีพระพุทธศาสนา
 พระรัตนตรัย  กล่าวโดยย่อเพียงเท่านี้  ถ้ากล่าวโดยพิสดารแล้ว  ปีหนึ่งก็ยังไม่หมด
 ๔.  คำสอนของพระพุทธเจ้า   (พระธรรมวินัย)  เมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้ว  มี  ๘๔,๐๐๐  พระธรรมขันธ์  (ใช้เวลาบรรยาย  ขันธ์ละวัน  ๒๐๐  ปี  ก็ยังไม่จบ)  แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป  หรือที่เรียกกันว่า  หัวใจพระพุทธศาส นาแล้ว  มี  ๓  คือ  ๑.  ไม่ทำความชั่ว  ๒.  ทำความดีให้สมบูรณ์   ๓.  ทำใจของตนให้บริสุทธิ์  (ทีฆ.มหา.)
ข้อนี้เป็นหลักการ  ส่วนวิธีการปฏิบัตินั้น  ทรงแสดงรายละเอียดออกไปอีกมาก  ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว  เช่น  ทรงแสดงประเภทของความชั่ว  คือวิธีทำความชั่วทางกาย  มีฆ่า  มีลัก  มีประพฤติผิดทางเพศ  ทางคำพูด  เช่น  พูดปด  พูดคำหยาบ  พูดส่อเสียด  นินทา  เป็นต้น  ทางใจ  เช่น  คิดอยากได้ของเขามาเป็นของตัว  คิดโกรธ  มีความคิดเห็นผิดความจริง  ส่วนประเภทของความดีทรงแสดงวิธีการทำความดีทางกาย  มีไม่ฆ่า  ไม่ลัก  ไม่โกง  ไม่ประพฤติผิดทางเพศ  ทางคำพูด  เช่น  พูดจริง  พูดดี  พูดมีสาระ  เป็นต้น  ทางใจ  เช่น  ไม่ต้องการของใครมาเป็นของตัว  ไม่โกรธอาฆาตใคร  มีความเห็นถูกตามความจริง  เหล่านี้เป็นต้น  (ทีฆ.มหา.  และ  ทส.อัง.)
 ๕.  พระพุทธเจ้า  ตรัสถึงความต้องการของคนทั่วไปว่า  มีความต้องการความสุข  (จตุก.อัง.)
 ความสุขมี  ๓  ระดับ  คือ  ทิฏฐธัมมิกสุข  สุขในชีวิตนี้  สัมปรายิกสุข  สุขในโลกหน้าหรือในปรโลก  กับนิพพานสุข  สุขในพระนิพพาน  พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุให้ได้ความสุขแต่ละระดับ  ดังนี้  :-
 สุขในชีวิตนี้   มีสุขเกิดจากความมีทรัพย์  สุขเกิดจากการจ่ายทรัพย์  สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้  สุขเกิดจากการทำงานที่สุจริต  เหตุให้ได้สุขดังกล่าวนี้
. ต้องเว้นทางของความล่มจม  คือ  อบายมุข  ๔ – ๖  มี  ๑.  เป็นนักเลงหญิง 
๒.  เป็นนักเลงสุราและสิ่งเสพติด  ๓.  เล่นการพนัน  ๔.  คบคนชั่วเป็นเพื่อน  และ  ๑.  ชอบดื่มน้ำเมา  ๒.ชอบเที่ยวกลางคืน  ๓.  ชอบดูการเล่น  ๔.  เล่นการพนัน  ๕.  คนคนชั่วเป็นเพื่อน  ๖.  เกียจคร้าน  (ในจำนวนนี้มีเรื่องคบคนชั่วเป็นเพื่อนซ้ำกัน  เพราะเรื่องการคบเพื่อนนั้นเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุด  พระพุทธเจ้าตรัสย้ำเรื่องคบเพื่อนไว้หลายแห่ง  แสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญต่อชีวิตมาก)
 ต้องปฏิบัติเหตุให้ได้ทรัพย์  คือ  ๑.  พร้อมด้วยความขยันเรียน  ขยันทำงาน 
๒.  พร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หาได้เอาไว้  (ไม่ใช่ตักน้ำใส่ตะกร้า)  ๓.  คบคนดีเป็นเพื่อน  (เรื่องเพื่อนมาอีกแล้ว  ถ้าคบเพื่อนเลว  ทุกสิ่งทุกอย่างจะเหลวหมด  เพราะเพื่อนเลวพาไป) 
๔.  เลี้ยงชีพพอควรแก่รายได้  (ได้น้อยใช้น้อย  ไม่เป็นคนรสนิยมสูง  แต่ไม่มีเงิน  ไม่ทำงาน)  (อัฏฐ.อัง.)  เมื่อทำได้อย่างนี้เป็นรวยแน่  มีทรัพย์แน่  เมื่อมีทรัพย์แล้ว  พระพุทธเจ้าก็ยังทรงสอนถึงวิธีใช้ทรัพย์อีกว่า 
๑.  เลี้ยงตัวเองกับคนภายใน  เช่น  พ่อ  แม่  ลูก  เมีย  เป็นต้น  ๒.  เลี้ยงคนภายนอก  เช่น  เพื่อน 
๓.  ใช้ขจัดอันตราย  ๔.  ใช้ทำพลี  เช่น  สงเคราะห์ญาติ  เสียภาษี  เป็นต้น  ๕.  ใช้ทำบุญ  (ปัญ.อัง.)
๖.  ตระกูลเคยมั่งคั่ง   มาตอนหลังกลับยากจน  ข้อนี้  พระพุทธเจ้าตรัสว่า  เป็นเพราะ  ๑. 
ไม่หาของหายปล่อยให้หาย  ซื้อหาใหม่  ๒.  ของใช้เสียแล้วทิ้ง  หาใหม่  ไม่ซ่อมแซมแก้ไขใช้  ทั้งๆ  ที่ซ่อมได้แก้ไขได้  ๓.  ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย  ไม่รู้จักประมาณในการใช้จ่าย  ใช้เงิน  ใช้ของไม่เป็น 
๔.  ตั้งหญิงหรือชายเลวเป็นแม่บ้าน  พ่อบ้าน  ตัวก็โง่กว่าเขา  เมื่อเป็นอย่างนี้  มีเท่าไรก็หมด  (จตุก.อัง.)
 ๗.  อยู่ร่วมหมู่บ้านเดียวกัน   พระพุทธองค์ทรงแสดงวิธีที่จะปฏิบัติต่อกันไว้ดังนี้  ๑.  ให้ข้าว  ให้น้ำ  ให้สิ่งของแก่เพื่อนบ้าน  ๒.  พูดต่อกันดีๆ  ไม่ด่า  ไม่ว่า  ไม่นินทากัน  ไม่ใช้คำหยาบคายต่อกัน 
๓.  ช่วยเหลือกันและกันในธุรกิจต่างๆ  ๔.  ทำตัวให้เข้ากันและกันได้  (จตุก.อัง.)  เมื่อเป็นอย่างนี้  หมู่บ้านจะมีแต่ความสามัคคีเจริญก้าวหน้า  คนในบ้านนั้นจะเป็นที่รักของคนทั่วไป
๘.  วิธีสร้างความยากจน   หรือวิธีทำลายอนาคต  เรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า
ก. ความจนเป็นทุกข์ในโลก  ความเป็นหนี้เป็นทุกข์  การเสียดอกเบี้ย  การถูกทวงหนี้ก็เป็นทุกข์ในโลก  (ฉัก.อัง.)
ข.  วิธีสร้างความยากจน  ความเสื่อมในชีวิต  ทำลายอนาคตไม่ยาก  มีดังนี้  ๑.  เป็นนักเลงหญิง  นักเลงเหล้า  ติดสิ่งเสพติด  นักเลงหัวไม้  ๒.  เป็นนักเที่ยวกลางคืน  
๓.  เป็นนักเที่ยวดูการเล่นสนุกสนานจนเกินประมาณ  ๔.  ชอบเล่นการพนัน  ๕.  คบคนชั่วเป็นเพื่อน  
๖.  เกียจคร้านในการเรียน  ในการทำงาน  (ปาฏิ.ทีฆ.จตุก.อัง.)  (อย่าว่าแต่  ๖  ข้อเลย  เพียงข้อ 

๕  ก็พอแล้วที่จะเป็นอย่างนั้น)
เพื่อนในพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่สุดในชีวิต  พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ดูคนว่า  คนไหนควรคบ  คนไหนไม่ควรคบไว้มากแห่ง  โดยเฉพาะคนที่ไม่ควรคบ  เช่น  ๑.  คนหลอกลวง  คิดเอาจากเพื่อนข้างเดียว   ๒.  ดีแต่พูด  พึ่งพาไม่ได้    ๓.  ประจบเอาใจ  คล้อยตามทุกอย่าง   ต่อหน้ายกย่อง  ลับหลังนินทา   ๔.  ชักชวนใจทางเสียหาย  เช่น  ชวนให้ดื่ม  ให้เล่นการพนัน  เที่ยวผู้หญิง   หรือ
 ๑.  ชอบพูดปด   ๒.  เย่อหยิ่ง   ๓.  พูดมาก   ๔.  ขี้อวด   ๕.  ยกตนเอง   ๖.  เป็นคนโลเล  (ฉัก.อัง.)   เมื่อคบคนที่มีลักษณะอย่างนี้  คนคบก็จะเป็นไปตามด้วย  (ปาฏิ.ที.)
ส่วนคนที่ควรคบนั้น นอกจากมีลักษณะตรงกันข้ามกับคนที่ไม่ควรคบแล้ว  พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดังนี้  :-   ๑.  คนให้ความช่วยเหลือ   ๒.  คนร่วมทุกข์ร่วมสุข  
๓.  คนแนะนำแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์  ๔.  คนมีความรัก
๙.   ลักษณะคนดี   คนเลว   พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของคนดีไว้  ๗  ประการ  คือ  ๑.  รู้เหตุ  
๒.  รู้ผล   ๓.  รู้จักตน  รู้จักหน้าที่   ๔.  รู้จักประมาณในการต่างๆ   เช่น  ในการพูด  ในการกิน   ในการใช้จ่าย  ในการเงิน  ในการนอน  เป็นต้น   ๕.  รู้จักใช้เวลาให้ถูกกับภาวะนั้นๆ  ๖.  รู้จักสังคม  แล้วทำตนให้เข้ากับเขาได้  เว้นแต่สังคมคนเลว  ๗.  รู้จักบุคคลว่า  คนนี้เป็นอย่างนี้  ควรคบ  คนนั้นมีนิสัยอย่างนั้น  ไม่ควรคบ  เป็นต้น  (สัต.อัง.)
ส่วนลักษณะของคนชั่วนั้น  นอกจากจะมีลักษณะดังกล่าวแล้วในเรื่องเพื่อน  ยังมีอีก  คือ  คิดชั่ว  พูดชั่ว  ทำชั่ว  (ติก.อัง.)  และยังมีที่ร้ายแรงอีก  คือ  ๑.  ฆ่าผู้หญิงได้   ๒.  ชอบเป็นชู้เขา 
๓.  ประทุษร้ายเพื่อน   ๔.  ฆ่าพระได้   ๕.  เห็นแก่ตัวจัด  (ชา.ขุ.)
๑๐.   พระพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะของการอยู่ร่วมของฆราวาสนอกจากที่กล่าวไว้ในข้อ
๗  ยังทรงแสดงหลักการอื่นอีก  คือ  ๑.  มีสัจจะต่อกัน   ๒.  มีความข่มใจ  ข่มอารมณ์   ๓.  อดทน  
๔.  เสียสละ  (ส.อัง.)  และ  ๑.  เป็นคนเรียบร้อย  ๒.  มีหลักใจ   ๓.  ไม่ประมาทในชีวิต  ในวัย  เป็นต้น 
 ๔.  ฉลาด   ๕.  ถ่อมตน   ๖.  ไม่ตระหนี่   ๗.  สงบ   ๘.  สุภาพ   พูดดี  (ชา.ขุ.)   ยังมีอีก  ข้อนี้เรียกว่า  ฆราวาสธรรม
ส่วนบรรพชิตธรรมนั้น  ทรงแสดงว่า  ภิกษุต้องปฏิบัติพระวินัย  คือ  ศีล  ๔  มี  ๑.  ปาฏิโมกขสังวร  
๒.  อินทรียสังวร   ๓.  อาชีวปาริสุทธิ  และ  ๔.  จตุปัจจเวกขณะ   และ  ๑.  สำรวมกายวาจา  
๒.  พอใจในธรรม   ๓.  มีใจมั่นคง  อดทน   ๔.  ไม่เอิกเกริก  เฮฮา   ๕.  รู้จักพอ  (สันโดษ)   (ชา.ขุ.)
๑๑.   เรื่องความสำเร็จในชีวิตนั้นใครก็ต้องการ   พระพุทธเจ้าตรัสวิธีการที่จะให้ประสบความสำเร็จ  ซึ่งเรียกว่า  อิทธิบาท   คือวิธีให้ถึงความสำเร็จดังนี้   ๑.  มีฉันทะ   คือความชอบพอใจในสิ่งนั้นๆ   ๒.  วิริยะ    มีความขยันหมั่นเพียรในการทำสิ่งนั้นๆ   ๓.  จิตตะ   สนใจ  ไม่ทอดทิ้งในการทำสิ่งนั้นๆ   ๔.  วิมังสา   มีการวิจัยวิจารณ์   แล้วรวบรวมเป็นหลักฐานไว้  เพื่อการส่งเสริมและแก้ไข  (ปาฏิ.ที.)   เมื่อปฏิบัติได้ครบทั้ง  ๔   อย่างนี้  ย่อมประสบความสำเร็จแน่นอนในสิ่งที่ตนพอใจ
๑๒.   หน้าที่ของพ่อแม่   ที่ต้องปฏิบัติต่อลูก   เรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่ามีหลายอย่าง  เช่น 
๑.  ไม่ให้ทำชั่ว  ๒.  ให้ทำความดี    ๓.  ให้การศึกษา   ๔.  หาภรรยาที่ดีให้   ๕.  มอบมรดกให้  (ปาฏิ.ที.)   และให้ความรัก   ความหวัง   ความปรารถนาดี
๑๓.   หน้าที่ของลูกที่ต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่   พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า   ๑.  มีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่   เลี้ยงพ่อแม่   ๒.  ช่วยทำธุรกิจของพ่อแม่   ๓.  สร้างและรักษาชื่อเสียงแก่วงศ์สกุล   ๔.  ทำตัวดี   ควรแก่การรับมรดก   ๕.  บำเพ็ญกุศลอุทิศให้พ่อแม่ผู้ล่วงลับ  (ปาฏิ.ที.)
๑๔.   หน้าที่สามีปฏิบัติต่อภรรยา   เรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า   ๑.  ยกย่องว่าเป็นภรรยา  
๒.  ไม่ดูหมิ่น  เหยียดหยาม   ๓.  มีความซื่อสัตย์   ๔.  มอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้   ๕.  ให้เครื่องแต่งตัว   (ปาฏิ.ที.)
๑๕.  หน้าที่ภรรยาปฏิบัติต่อสามี   เรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า   ๑.  จัดงานในบ้านดี 
 ๒.  สงเคราะห์คนของสามีดี  (โดยมากภรรยามักรังเกียจญาติของสามี   พอใจต้อนรับแต่ญาติของตน)  
๓.  มีความซื่อสัตย์   ๔.  รักษาทรัพย์สินที่สามีหาได้  และมอบให้ดูแล   ๕.  ขยัน  (ปาฏิ.ที.)
๑๖.   หน้าที่ของนายจ้างความปฏิบัติกับลูกจ้าง  เรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า 
๑.  ให้ลูกจ้างทำงานควรแก่กำลังและความรู้ความสามารถ   ๒.  ให้อาหารและรางวัลตามควรแก่งาน  (สมัยโน้นไม่มีการให้ค่าจ้างรายวันรายเดือนเหมือนเดี๋ยวนี้)   ๓.  รักษาพยาบาลเมื่อลูกจ้างเจ็บไข้ 
๔.  ให้รางวัลพิเศษเมื่อทำงานดี   ๕.  ให้ลูกจ้างพักตามเวลาอันควร   (ปาฏิ.ที.)
๑๗.   หน้าที่ลูกจ้างควรปฏิบัติกับนายจ้าง   เรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงดังนี้   ๑.  ขยัน  ทำงานก่อนนายจ้าง   ๒.  เลิกทำงานหลังนายจ้าง   ๓.  ซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง   ๔.  ทำงานดี   ๕.  สรรเสริญนายจ้าง   (ปาฏิ.ที.)   (โดยมากลูกจ้างมักนินทานายจ้าง)
๑๘.  หน้าที่ของครูอาจารย์ที่ควรกระทำกับศิษย์   ทรงแสดงไว้ดังนี้   ๑.  แนะนำดี  ด้วยเมตตาจิต   ๒.  สอนดี   ด้วยความตั้งใจดี   ๓.   สอนวิทยาการโดยสิ้นเชิง   ไม่ปิดบัง   ๔.  ยกย่องศิษย์  
๕.  ช่วยเหลือศิษย์มิให้มีอันตราย   (ปาฏิ.ที)
๑๙.   หน้าที่ของศิษย์พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์   ทรงแสดงไว้ดังนี้   ๑.  มีความเคารพนับถือครูอาจารย์ 
 ๒.  ช่วยทำธุรกิจของท่าน   ๓.  เชื่อฟังท่าน   ๔.  มีความกตัญญูกตเวทีในท่าน   ๕.  เล่าเรียนด้วยความตั้งใจ   (ปาฏิ.ที.)
นอกจากนี้ยังทรงแสดงหน้าที่อันจะพึงปฏิบัติต่อกันในระหว่างเพื่อนกับเพื่อน   ผู้ใหญ่กับผู้น้อย   พลเมืองกับบ้านเมือง  เป็นต้น  อีกมาก  (จะดูได้ในหนังสือ  ๑  ใน  ๘๔,๐๐๐)
๒๐.   คุณสมบัติของหัวหน้า   ทรงแสดงไว้มาก  เช่น  ๑.  มีความอดทนต่อความลำบากกาย  ใจ   ต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์   เป็นต้น   ๒.  ตื่นตัวกับเหตุการณ์   เตรียมตัว  ไม่ประมาท   ๓.  ขยันทำงาน  
๔.  จำแนกเหตุการณ์ได้ถูกต้อง   รู้จักแบ่งงาน   แบ่งบุคคลให้ทำงานได้เหมาะสม   ๕.   มีความเมตตา  
๖.  สอดส่อง  ตรวจตรา   ติดตามงาน  (ฉัก.อัง.) และ  ๑.  สามารถในการหาข้อมูลของปัญหานั้นๆ  
๒.  สามารถแก้ปัญหาต่างๆ  ได้  (จตุก.อัง.)   และ  ๑.  สงเคราะห์ประชาชน   ๒.  สร้างมิตรภาพกับผู้อื่น  
๓.  รู้จักพูด   ๔.  ใจกว้าง   โอบอ้อมอารี   ๕.  เป็นผู้นำเขา  (ปาฏิ.ที.)   และ  ๑.  องอาจ  ฉลาด   ๒.  คงแก่เรียน   ๓.  เอาธุระหน้าที่ดี   ๔.  มีหลักธรรมประจำใจและมีหลักในการทำงาน   ๕.  เป็นผู้มีใจประเสริฐ  
๖.  เป็นสัตบุรุษ   ๗.   เป็นผู้มีปัญญา   มีความคิด   ความริเริ่มดี   (ธ.ขุ.)   เหล่านี้เป็นต้น
๒๑.   คุณสมบัติของข้าราชการ   ทรงแสดงไว้มากเช่นเดียวกัน  เช่น  ๑.  ขยันทำงาน 
๒.  ไม่ประมาทในสถานการณ์   ๓.  รอบรู้ในเรื่องต่างๆ  ๔.  ปฏิบัติหน้าที่ได้เรียบร้อย  (ชา.ขุ.)   และ 
๑.  เป็นผู้นำที่ดีของประชาชน   ๒.  มีหลักการในการทำงาน   ๓.  มีการศึกษาดี  
๔.   บำเพ็ญประโยชน์ตนและผู้อื่น   ๕.   มีใจมั่นคง   ๖.  เป็นคนสุภาพเรียบร้อย  
๗.   เตรียมตัวเสมอเพื่อรับเหตุการณ์นั้นๆ   ๘.   มีพฤติกรรมสะอาด  ไม่ทำทุจริต   ๙.  ขยัน   (ชา.ขุ.)   และ  ๑.  ฟังเป็น  พูดให้เขาฟังเป็น   ๒.  รู้จักข่มอารมณ์ร้าย   ๓.  ทนทุกข์กาย   ใจ   ทนถูกว่า  ทนต่อสิ่งเย้ายวนได้  ๔.  ปฏิบัติหน้าที่ได้รวดเร็ว   คล่องตัว  (ชา.ขุ)   และ  ๑.  มีความประพฤติดี  ๒.  ไม่โลภ   ๓.  ทำตามคำสั่ง  ไม่อวดดีกับผู้บังคับบัญชา   ๔.  บำเพ็ญประโยชน์   ทั้งต่อหน้า  ทั้งลับหลังผู้บังคับบัญชา  (ชา.ขุ.)   และ
 ๑.  นับถือผู้ที่เหนือกว่าในด้านวัยวุฒิและคุณวุฒิ   ๒.  เคารพผู้ใหญ่ในราชการ   ๓.  รู้จักประมาณตัว  
๔.  เข้ากับเขาได้  (ชา.ขุ.)   และ  ๑.  ฉลาดรอบรู้   ๒.  สมบูรณ์ด้วยความรู้   ๓.  ทำงานเก่ง  
๔.  รู้จักกาลอันควร – ไม่ควรทำอย่างไร   ๕.  รู้จักสมัยว่า   สมัยนี้ควรทำ – ไม่ควรทำอย่างไร  (ชา.ขุ.)   และ   ๑.  ไม่พูดมากเกินไป   ๒.  ไม่นิ่งมากเกินไป   ๓.  รู้จักประมาณในการพูด   ๔.  ไม่พูดด้วยอารมณ์  
๕.  ไม่พูดกระทบผู้อื่น   ๖.   พูดจริง  ๗.  พูดดี  น่าฟัง   ๘.  ไม่พูดยุยง   ๙.  ไม่พูดเพ้อเจ้อ  (ชา.ขุ.)
๒๒.   คุณสมบัติของพ่อค้า – แม่ค้า   พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ไว้ว่า   ๑.  ตื่นแต่เช้า   ตรวจตราดูแล  พิจารณางานของตน   ๒.  กลางวัน   สนใจในกิจการของตน  ไม่ทอดทิ้ง   ๓.  ตอนเย็น  ตรวจตรากิจการของตนในด้านสิ่งของ  ในด้านการค้า  ในด้านการเงิน  ในด้านทำงานของตน   เป็นต้น   ในแต่ละวัน  (ติก.อัง.)   และ  ๑.  มีตาดี  คือตาไว  รู้ไว  รู้ว่าอะไรดีไม่ดี  ขายดี  ขายไม่ดี  รู้จักซื้อ  รู้จักขาย 
 ๒.  เอาใจใส่ในการค้า   ไม่ปล่อยปละละเลย   ให้ความไว้ใจแก่คนอื่นในการค้าขาย  (เรื่องนี้ถูกโกงมามากแล้ว)  ๓.  มีนิสัยในการค้า  (ติก.อัง.)   นอกจากนี้ยังทรงแสดงคุณสมบัติของสิ่งอื่นๆ  อีก
๒๓.   ผู้เดือดร้อนภายหลัง   เรื่องนี้ทรงแสดงว่า  ผู้มีลักษณะอย่างนี้ย่อมเดือดร้อนในภายหลังแน่  คือ 
๑.  เมื่อเป็นเด็ก  ไม่ทำสิ่งที่ควรทำ  เช่น  ๑.  ไม่เล่าเรียน  ไม่หาความรู้เพื่อสร้างอนาคต   ๒.  เกียจคร้านทำงาน   ๓.  มีความคิดจม   คือไม่คิดถึงอนาคต   ๔.  คิดสบายๆ  ไปวันหนึ่งๆ   เท่านั้น   ๕.  ไม่หาทางให้เกิดปัญญา  ความคิด  (จึงจมอยู่ในความโง่)  (ธ.ขุ.)   และ  ๑.  เมื่อเป็นหนุ่ม  (ยังแข็งแรง)  ไม่แสวงหาทรัพย์ 
 ๒.  เมื่อเป็นเด็ก  ไม่เล่าเรียน  หาความรู้เพื่ออนาคต   ๓.  เป็นคนเจ้าเล่ห์   ชอบยุยงให้มีเรื่องวุ่นวาย  กินสินบน  เหี้ยมโหด  (ดูภายนอกเป็นคนดี)   ๔.  ทุศีล   ขาดขันติ  ขาดเมตตา   ๕.  เจ้าชู้   ๖.  ตระหนี่   มีทรัพย์พอให้ได้ก็ไม่ให้  เห็นแก่ตัว   ๗.  อกตัญญู   ๘.  ดื้อดึงกับพ่อแม่   ดูหมิ่นพ่อแม่  
๙.  ไม่ยอมเข้าใกล้สมณะ   ๑๐.  ชอบทำทุจริต  ไม่ยอมเข้าใกล้สัตบุรุษ  (ทสก.อัง.)   และ  ๑.  มีความรู้น้อย  ชอบทำชั่ว  ไร้คุณค่าในตัว   ๒.  ชอบคบคนเลว   พอใจในสิ่งที่เลวๆ   ๓.  ชอบนอน  ชอบคุย   เกียจคร้าน   เจ้าอารมณ์   ๔.  อกตัญญู   ๕.  ชอบหลอกลวง  แม้แต่นักบวชก็ไม่เว้น   ๖.  เห็นแก่ตัวจัด  ไม่ยอมแบ่งปันอะไรให้ผู้อื่น   ๗.  เย่อหยิ่ง   ดูหมิ่นแม้ญาติของตน   ๘.  เป็นนักเลงผู้หญิง  นักเลงการพนัน   นักเลงเหล้า   นักเลงหัวไม้  ล้างผลาญทรัพย์ที่มีอยู่   ๙.  เจ้าชู้   ชอบคบผู้หญิงเสเพล   ๑๐.  ชายแก่ได้เมียสาว   หญิงแก่ได้ผัวหนุ่ม   ๑๑.  ตั้งหญิงหรือชายที่เลวให้เป็นใหญ่ในการงาน   ๑๒.  เกิดในตระกูลสูง  แต่ยากจน  และคิดมักใหญ่ใฝ่สูง  (สุ.ขุ.)   และยังมีอีก
๒๔.   ทางเจริญของชีวิต   ทรงแสดงไว้มากเช่นเดียวกัน  เช่น  ๑.  จงเดินไปตามทางแห่งความดีที่เดินมาแล้ว   อย่าถอยหลัง   ถ้าเดินพลาด  จงกลับ  อย่าเดินต่อไป  ๒.  จงอย่าทำลายฝ่ามืออันชุ่มด้วยเหงื่อเพราะความขยัน   ๓.  อย่าประทุษร้ายมิตร   ๔.  อย่าอยู่ใต้อำนาจหญิง  (ชา.ขุ.)   และ  ๑.  คบคนดี 
 ๒.  สนใจในคำแนะนำของคนดี   ๓.  ใคร่ครวญ   ไตร่ตรองโดยรอบคอบ   ๔.  แล้วปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น   (จตุก.อัง.)
๒๕.   ผัวกลัวเมีย   พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นเพราะ  เมียมีกำลัง   คือ  ๑.  รูปสมบัติ   ๒.  โภคทรัพย์  และวิชาสมบัติ   ๓.  ญาติสมบัติ   ๔.  บุตรสมบัติ   ๕.   ความประพฤติดีกว่าผัว   ปฏิบัติผัวดี  และผัว 
๑.  ยากจน  ๒.  เจ็บไข้  ทุพพลภาพ   ๓.  แก่   ๔.  ติดสิ่งเสพติด  ๕.  โง่กว่าเมีย   ๖.  เฉื่อยชา  เลอะเลือน 
๗.  คล้อยตามเมียทุกอย่าง   ไม่กล้าขัดคอ  ๘.  ไม่ทำมาหากิน  (ชา.ขุ.)   ผัวกลัวเมียเพราะเหตุดังกล่าวนี้
๒๖.  เมียกลัวผัว   ทรงแสดงว่าผู้ชายที่เมียไม่สามารถข่มได้นั้น  เพราะมีกำลัง  คือความเป็นใหญ่   ความเป็นอิสระส่วนตัว  (คือเป็นผู้ชายจริงๆ  ไม่ยอม)  (สฬา.สัง.)
๒๗.  อำนาจเมีย   ในชาดกขุททกนิกาย  แสดงว่า  ๑.  ชายแม้เป็นนักปราชญ์   มหาชนนับถือ   ถ้ากลัวเมียย่อมสิ้นคุณค่า  ไร้สง่าราศี   ดุจพระจันทร์วันมีจันทรุปราคา   ๒.  ชายกลัวเมีย  ย่อมถูกติเตียนในโลกนี้  ตายไปย่อมไปทุคติ  และเมียที่ข่มผัว  ตายไปก็ย่อมไปทุคติเช่นเดียวกัน
๒๘.  เหตุที่ผัวเมียอยู่กันยืดยาว   เรื่องนี้ทรงแสดงว่า  ทั้ง  ๒  ฝ่าย   ๑.  มีวัยพอกัน   ๒.  มีความปรองดองกัน   ๓.  มีความประพฤติพอกัน   ๔.  มีความพอใจในสิ่งต่างๆ  พอกัน  ไม่ขัดกัน   ๕.  ไม่เป็นหมัน 
 ๖.   มีความประพฤติดี  มีสกุล   ๗.   ปฏิบัติหน้าที่ในกันและกันดี  (ชา.ขุ.)
๒๙.   ผัวเมียตายไปจะได้พบกันอีกในชาติหน้า   เรื่องนี้ทรงแสดงว่า  ๑.  ต้องมีศรัทธาในความดีพอกัน 
 ๒.  มีความประพฤติดีพอกัน   ๓.  มีความเสียสละพอกัน   ๔.  มีสติปัญญาพอกัน  (จตุก.อัง.)
๓๐.  มงคลชีวิต   ทุกคนต้องการสิ่งที่เป็นสิริมงคลของชีวิต  เพื่อความอยู่ดี  กินดี  มีความสุข   พระพุทธองค์ตรัสเรื่องนี้ไว้ว่า  มีอยู่  ๓๘  ประการ  คือ  ๑.  ไม่คบคนชั่ว   ๒.  คบคนดี 
๓.  ยกย่องบูชาผู้ที่ควรยกย่องบูชา   ๔.  อยู่ในที่ที่เหมาะสม   (เช่น   ที่มีความเจริญด้วยการศึกษา   หาเลี้ยงชีพสะดวก   มีคนดีอยู่อาศัย  เป็นต้น)   ๕.  มีบุญเก่ามาก  ๖.  ตั้งตัวไว้ดี   ๗.  เป็นผู้คงแก่เรียน  
๘.  เป็นคนมีศิลป์   ๙.  เป็นคนมีระเบียบวินัย  มีศีล   ๑๐.  เป็นคนพูดดี   ๑๑.  เลี้ยงพ่อแม่ 
 ๑๒.   สงเคราะห์เลี้ยงดูลูกเมีย   ๑๓.  ไม่ปล่อยงานการให้คั่งค้าง   ๑๔.  ให้สิ่งที่ควรให้แก่ผู้อื่น  
๑๕.   ประพฤติปฏิบัติธรรม   ๑๖.   สงเคราะห์ญาติ  เป็นต้น   ๑๗.  ทำกิจกรรมที่เป็นสุจริตกรรม  
๑๘.   งดการทำชั่ว   ๑๙.   เว้นการทำทุจริต   ๒๐.  ไม่ดื่ม  ไม่เสพสิ่งเสพติด  
๒๑.  ไม่ประมาทในการปฏิบัติธรรม   ๒๒.  เคารพผู้ที่ควรเคารพ   ๒๓.  ไม่เบ่ง  ไม่เย่อหยิ่ง  
๒๔.  สันโดษพอใจในสิ่งที่ได้มาโดยสุจริต  ไม่ละโมบ  รู้จักพอ   ๒๕.   เป็นคนกตัญญูกตเวที  
๒๖.  ฟังธรรมตามกาลอันควร   ๒๗.  อดทน  ๒๘.  ว่าง่าย  ไม่ดื้อด้าน   ๒๙.  การได้เห็นสมณะ  
๓๐.  การสนทนาธรรม  หรือเรื่องที่มีคุณประโยชน์ตามกาลอันควร   ๓๑.  มีความเพียร  
๓๒.  ประพฤติพรหมจรรย์  ๓๓.  การเห็นแจ้งรู้จริงอริยสัจ  ๔   ๓๔.  การทำพระนิพพานให้แจ่มแจ้งแก่ตน   ๓๕.  ให้หวั่นไหวด้วยโลกธรรม  มีนินทา  สรรเสริญ  เป็นต้น   ๓๖.   ไม่เศร้าโศกเสียใจ  
๓๗.  มีใจปราศจากธุลีกิเลส   ๓๘.  มีใจพ้นจากกิเลส
คุณธรรมแต่ละอย่างใน  ๓๘  อย่างนี้  ล้วนเป็นมงคลต่อชีวิตทั้งสิ้น   เรื่องนี้อยู่ในมงคลสูตร
๓๑.  ความเชื่อ   ทุกคนย่อมมีความเชื่อ  ในศาสนาอื่นสอนว่า  ให้เชื่อก่อนแล้วจะรู้   ในพระพุทธศาสนาสอนว่า  ให้รู้ก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ   ไม่บังคับว่า  ถ้าไม่เชื่อจะต้องตกนรก   แต่กลับสอนไม่ให้เชื่อก่อนจะตัดสินใจ  เช่น  ที่ทรงแสดงไว้ในกาลามสูตร  ๑๐  ข้อ  มีใจความว่า 
๑.  อย่าเชื่อโดยฟังตามๆ  กันมา  ๒.  อย่าเชื่อโดยเชื่อสืบๆ  กันมา   ๓.  อย่าเชื่อโดยเขาบอก  เป็นอาทิ   แต่ทรงสอนให้เชื่อความจริง   เชื่อตัวเองก็ไม่ได้  เชื่อคนอื่นก็ไม่ควร   แต่ทรงให้เชื่อความจริง  และเรื่องความจริงนั้น  คือเชื่อกรรม   เชื่อผลของกรรม   เชื่อว่าทุกคนมีกรรมประจำตัว   และเชื่อพระปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
๓๒.  กรรม   เรื่องกรรมนี้เป็นเรื่องจริง  คนไม่เชื่อเรื่องกรรมนั้น  เพราะไม่รู้จักกรรม  ทั้งๆ  ที่อยู่กับกรรม   เหมือนปลาไม่รู้จักน้ำ   นกไม่รู้จักฟ้า   ไส้เดือนไม่รู้จักดิน
คำว่า   กรรม   เดิมเป็นภาษาศาสนา  ไม่ใช่ภาษาไทย   ในภาษาไทยได้แก่การทำ  การเดิน  การกิน  การนอน  เป็นต้น   เป็นการทำทางกาย  เรียกกายกรรม   การพูดเป็นการกระทำทางวาจา  เรียกวจีกรรม   การคิดการนึกเป็นการกระทำทางใจ   เรียกมโนกรรม  การลัก  การพูดปด   ความโกรธ  เป็นต้น  จัดเป็น  อกุศลกรรม   คือทำชั่ว   การให้ทาน  พูดจริง  ความเมตตา   เป็นต้น  จัดเป็นกุศลกรรม  คือทำดี   พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า   ทำดีย่อมได้ผลดี  ทำชั่วย่อมได้ผลชั่ว   การให้ผลนั้น  มี  ๒  คือ  ระยะแรก  หรือระยะพื้นฐาน   คือกรรมเก่าเดิม   กับ  ระยะหลัง  คือกรรมเก่าตอนหลัง   คิดเปรียบเทียบดังนี้  :-
คนบางคนได้บ้านหลังใหญ่  บางคนได้บ้านเป็นกระท่อม  ทั้งๆ  ที่อยากอยู่บ้านใหญ่  บางคนได้รถยนต์ราคาแพง   บางคนได้รถเก่า  บางคนได้รถชำรุด   ทำไมจึงเป็นอย่างนี้   ทั้งนี้เพราะ  ปัจจัยคือทุนทรัพย์มีมากหรือน้อย   เช่นเดียวกับคนบางคนเกิดมาได้ร่างกายงดงาม  ขาวสะอาด  บางคนเกิดมาได้ร่างกายพิการ   บางคนเกิดมาวันนั้นตายวันนั้น   บางคนเกิดมาแล้วอายุยืน   ทำไมจึงเป็นอย่างนี้   ทั้งนี้เพราะกุศลกรรมอกุศลกรรมเก่านั้น   หรือบุญบาปเก่านั่นเองเป็นผู้จัดสรร  ข้อนี้เป็นเรื่องผลกรรมระยะแรกหรือพื้นฐาน
ข้อความดังกล่าวนี้พอทำความเข้าใจในเรื่องกรรมได้ว่า 
๑.  กรรมคืออะไร                           
  ๒.  กรรมมีจริงหรือไม่   ผลของกรรมมีจริงหรือไม่ 
 ๓.  กรรมเก่ามีจริงหรือไม่   คราวนี้มาถึงปัญหา

****************************

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.
MARQUEE กำหนดการ วันจัดงานประจำปี ๒๕๖๗ วัดป่าภูริทัตตาราม เมืองกีเซ่น   วันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันมาฆบูชา   วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๗ จัดงานวันสงกรานต์   วันพฤหัส-อาทิตย์ที่ ๒๓-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ จัดกิจกรรมบวชเนกขัมมะ   วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันวิสาขบูชา   วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันอาสาฬหบูชา(เข้าพรรษา)   วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันออกพรรษา     Feste im Jahr 2023 Wat Pah Puritattaram Giessen Programme    Sonntag 3 Märr 2024 Tambun Wan Makhabuscha    Sonntag 21 April 2024 Tambun Wan Songkran   Do-So 23-26 Mai 2024 Einkehrtage (Buad Nekkama)   Sonntag 26 Mai 2024 Tambun Wan Wisakabuscha    Sonntag 28 Juli 2024 Tambun Wan Ahsarahabuscha (Kao Phansaah)   Sonntag 27 Oktober 2024 Tambun Wan Ohg Phansaah Wat Pah Puritattaram
Sandfeld 12 , 35396 Giessen
Tel. 0641- 877 3000 Fax: 0641 - 3013103
E-mail: phrapattiyo@t-online.de