ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
dot
Dhamma : Deutsch
dot
bulletUnterweisung in Meditation
bulletREINIGUNG
bulletREICHTUM
bulletBuddhismus in 10 Minuten
bulletEINSTELLUNG ZUR MEDITATION
bulletDhamma Teworohana
bulletFalsche Ansichten
bulletUMGANG MIT DHAMMA-SCHRIFTEN
dot
ธรรมะไทย
dot
bullet พระพุทธศาสนากับเวลา ๑๐ นาที
bulletโคลงโลกนิติ
bulletศาสนพิธี
bulletคนใจดี คนใจร้าย
bulletบวชเพราะแม่ยาย
bulletเสียงสัตว์ 8 ชนิด
bulletคุณธรรมของหัวหน้า
bulletคุณสมบัติของผู้นำ
bulletบาปเกิดจากความจงใจ
bulletดาบสฌานเสื่อม
bulletโคนันทิวิสาล
bulletบุญที่ให้ทานแก่ปลา
bulletความจริงที่ไม่ควรพูด
bulletอาหารไม่บริสุทธิ์
bulletอานิสงส์การแผ่เมตตา
bulletพระมหาสุบิน ๑๖ ข้อ
bulletคมในฝัก
dot
Nachrichten
dot
bulletรูปภาพกิจกรรมของวัด Bilder Von Versammlung
bulletPhoto Album Wat Pah Puritattaram อัลบั้มรูป
bulletKommendes Fest 2024
bulletFeste im Jahr 2024
dot
เวปไซต์อื่น
dot
bulletLuangpumun (หลวงปู่มั่น)
bulletLuangta (หลวงตามหาบัว)
bulletWat Pah Puritattaram1
bulletWat buddhabharami
bulletWat Dhammabharami
bulletdhammayuteurope
bulletWatpa Copenhagen
bulletวัดป่าโกเธนเบิร์ก สวีเดน
bulletThailife
bulletพระไทยดอทเนต
bulletWat Dhammaniwasa Aachen
bulletวัดจักรวรรดิราชาวาส
bulletwatthaivienna วัดไทยเวียนนา
bullet สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
bulletอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
bulletชาวไทย
bulletสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
bulletสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
bulletค้นหารหัสไปรษณีย์ไทย
bulletค้นหาเบอร์โทรศัพท์ (ไทย)
bulletwatpahgiessen
bulletมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
bulletวัดธัมมธโร ออสเตรเลีย




วันออกพรรษา article

    นิยาม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน  "เรียกวันที่สิ้นการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก
 ประวัติความเป็นมา
        วันออกพรรษา เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ที่ร่วมกันในวัดหรือสถานที่ซึ่งอธิษฐานเข้าตลอดระยะเวลา 3 เดือน ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ วันที่พระภิกษุ์สงฆ์ทุกรูปจะอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในเรื่องราวเกี่ยวกับความประพฤติต่างๆ นับตั้งแต่พระสังฆเถระ ได้แก่ พระภิกษุ์ผู้ที่มีอาวุโสสูงลงมา จะสามารถว่ากล่าวตักเตือนหรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน
        การกระทำมหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทุกๆ 15 วันในช่วงเข้าพรรษา

 การประกอบพิธีในวันออกพรรษา
        การประกอบพิธีในวันนี้ พุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญเป็นกรณีพิเศษ เช่นตักบาตรในตอนเช้า ถวายสังฆทาน ไปทำบุญที่วัด ถวายภัตตาหาร ฟังพระธรรมเทศนา และมีการตักบาตรเทโวในวันรุ่งขึ้น

 กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
        1. ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ
        2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
        3. ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว"
        4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
        5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย ฉายสไลด์ หรือบรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ที่สนใจทั่วไป 

 

 ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา
        ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ
        1. ประเพณีตักบาตรเทโว (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว 1 วัน)
        2. พิธีทอดกฐิน (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น15 ค่ำ เดือน 12 กำหนด 1 เดือนนับตั้งแต่วันออกพรรษา)
        3. พิธีทอดผ้าป่า (ไม่จำกัดกาล)
        4. ประเพณีเทศน์มหาชาติ (นิยมทำกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ วันแรม 8 ค่ำ กลางเดือน 12 ในบางท้องถิ่นอาจนิยมทำกันในเดือน 5 ต่อเดือน 6 หรือในเดือน 10) 

 ประเพณีตักบาตรเทโว
        การตักบาตรเทโว จะกระทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือหลังออกพรรษาแล้ว 1 วัน
 ประวัติความเป็นมาของประเพณีการตักบาตรเทโว
        ในสมัยพุทธกาล เมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร
        การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ"ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ 

 พิธีทอดกฐิน
ประวัติการทอดกฐิน 
  ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ 30 รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว 6 โยชน์
         ภิกษุทั้ง 30 รูป ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอแม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยฝน อย่างไรก็ไม่ย่อท้อ
        เมื่อภิกษุทั้ง 30 รูป ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสรู้ถามจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถา ภิกษุเหล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ผลในลำดับนั้น พระบรมศาสดาดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ สำหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตและได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก 

 พิธีทอดผ้าป่า
ประวัติความเป็นมา
        ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่นผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าที่ห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากหรือเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน
        ครั้นชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ ก็นำเอามาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าก็มีความเป็นมาด้วยประการฉะนี้
        สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา 

 ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ 
        ประเพณีการเทศน์มหาชาติจัดเป็นการทำบุญที่สำคัญและมีความหมายที่สุดในสังคมไทย เนื่องจากเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ทำสืบเนื่องมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้กุศลแรง แลหากใครตั้งใจฟังให้จบใน วันเดียวจะได้เกิดร่วมและพบพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต
        ในพระราชสำนัก ปรากฏเป็นราชพิธีในวังหลวงมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ถึงกับทรงโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งทรงธรรม ด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นที่ทรงธรรมในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติ พระราชพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนาคราวหนึ่ง แม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศก็ทรงหัดเทศน์กัณฑ์มัทรี จนกลายเป็นธรรมเนียมให้พระราชโอรสถวายเทศน์มหาชาติในวังหลวง 
        ในท้องถิ่น โดยเฉพาะในเขตภาคอีสานถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำคัญที่สุดของปีจะจัดขึ้นในราวเดือน 4 เรียกว่า บุญพระเวส ทั้งยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลนี้ด้วย เช่น พิธีแห่พระเวสเข้าเมืองและพิธีแห่ข้าวพันก้อนเพื่อบูชาคาถาพัน ทางภาคเหนือ ก็ให้ ความสำคัญกับการเทศน์มหาชาติมาก เห็นได้จากมีประเพณีสร้างหลาบเงินหรือแผ่นเงินแกะลาย แขวนห้อยรอบฉัตร ถวายเป็นเครื่องขันธ์ตั้งธรรมหลวงในงาน ทางภาคใต้นั้นประเพณีเทศน์มหาชาติได้คลี่คลายไป เป็นประเพณีสวดด้านซึ่งคล้ายคลึงกับการสวดโอ้เอ้วิหารรายอย่างกรุงเทพฯ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 

 

แหล่งอ้างอิง

  1. ธนากิต วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
  2. ธนากิต ประเพณี พิธีมงคล และ วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539.
  3. วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528.
  4. ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. ขนมธรรมเนียมประเพณีและวัมนธรรมกรุงรัตน               โกสินทร์. กรุงเทพฯ : 2525.




คอลัมน์ที่ 5

ภาวนาพุทโธ น้ำตาไม่ไหล (หลวงปู่ชา สุภัทโท) article
งานบุญออกพรรษาและกฐินสามัคคี article
กฐิน article
ตายเพราะปาก article
กำเนิดสุรา article
สวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น article
วันสารทไทย article
Feste im Jahr 2005 article
ตำราเลือกลูกเขย article
คมในฝัก article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
MARQUEE กำหนดการ วันจัดงานประจำปี ๒๕๖๗ วัดป่าภูริทัตตาราม เมืองกีเซ่น   วันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันมาฆบูชา   วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๗ จัดงานวันสงกรานต์   วันพฤหัส-อาทิตย์ที่ ๒๓-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ จัดกิจกรรมบวชเนกขัมมะ   วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันวิสาขบูชา   วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันอาสาฬหบูชา(เข้าพรรษา)   วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันออกพรรษา     Feste im Jahr 2023 Wat Pah Puritattaram Giessen Programme    Sonntag 3 Märr 2024 Tambun Wan Makhabuscha    Sonntag 21 April 2024 Tambun Wan Songkran   Do-So 23-26 Mai 2024 Einkehrtage (Buad Nekkama)   Sonntag 26 Mai 2024 Tambun Wan Wisakabuscha    Sonntag 28 Juli 2024 Tambun Wan Ahsarahabuscha (Kao Phansaah)   Sonntag 27 Oktober 2024 Tambun Wan Ohg Phansaah Wat Pah Puritattaram
Sandfeld 12 , 35396 Giessen
Tel. 0641- 877 3000 Fax: 0641 - 3013103
E-mail: phrapattiyo@t-online.de