ทำบุญวันมาฆบูชา
ปี ๒๕๖๗
วัดป่าภูริทัตตาราม กีเซ่น
ขอเชิญร่วมทำบุญตักบาตร พิธีเวียนเทียน และทอดผ้าป่าสามัคคี
วันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม จัดงานทำบุญ วันมาฆบูชา
ณ วัดป่าภูริทัตตาราม ซันด์เฟลด์ ๑๒, ๓๕๓๙๖ กีเซ่น
วันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา
เป็นครั้งแรกและครั้งเดียว เท่านั้น ในท่ามกลางพระอริยสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ องค์
ชึ่งล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ มาประชุมพร้อมกันโดยบังเอิญมิได้นัดหมายกันมา
ในวันนั้นเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาตเพราะ เป็นการประชุมประกอบด้วยองค์ ๔ คือ
๑. พระภิกษุสงฆ์ที่มาประชุมจำนวน ๑,๒๕๐ องค์นั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ
๒. ท่านเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุผู้อุปสมบทมาแต่สำนักพระพุทธองค์
๓. ท่านเหล่านั้นไม่มีใครเชื้อเชิญบังเอิญใจตรงกันมาประชุมในเวลาเดียวกันโดยลำพัง
๔. วันที่ประชุมนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญเดือน ๓)
เพราะวันนี้มีความสำคัญดังที่กล่าวนี้ ภายหลังจึงเกิดนิยมทำการบูชาเป็นพิเศษ ในวันนี้
เรียกว่า วันมาฆบูชา
กำหนดการ
เวลา ๑๐.๐๐ น. ทำวัตรเช้า นั่งสมาธิ (พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์)
,, ๑๐.๓๐ น. พระสงฆ์ออกรับบิณฑบาต
,, ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์
,, ๑๑.๓๐ น. ขอเชิญร่วมรับประทานอาหาร
,, ๑๒.๐๐-๑๓.๐๐ น. ถวายไทยทาน และทอดผ้าป่า
ฟังธรรมเทศนา พระสงฆ์ให้พร
และประกอบพิธีเวียนเทียน เป็นเสร็จพิธี
จึงขอบอกบุญมายังสาธุชนทุกท่านมาร่วมสร้างบุญบารมี เนื่องในพิธีวันสำคัญของ พระพุทธศาสนา ในครั้งนี้โดยพร้อมเพรียงกัน
TAMBUN – WAN – MAKHABUSCHA
(Guter Tat am Makha – Buscha – Tag)
Jahr 2024
Wat Pah Puritattaram Giessen
Wir laden Sie herzlich zum Tambun–Takbaat(gute Tat),
Wiantian(Kerzenzeremonie) und Phapasamakkie – Fest ein.
am Sonntag 3 März, Makabuscha Tag
in Wat Pah Puritattaram Sandfeld 12, 35396 Giessen
Programm des Tages :
um 10 : 00 Uhr Morgenszeremonie(Suatmon), Meditation
„ 10 : 30 Uhr Mönche gehen Spenden sammeln(Bintabaat)
„ 11 : 00 Uhr den Mönchen das Essen übergeben
„ 11 : 30 Uhr herzliche Einladung zum gemeinsamen Essen
„ 12 - 13 Uhr Sachspenden (Sankhatan) für Mönche,
Phapa – Samakkie – Fest
Dhammasvortrag (Buddhas Lehre) vom Mönch
Segnung – Zeremonie(vom Mönch)
Bedeutung des Makha–Buscha Tags :
Makha – Buscha ist am Vollmondtag im dritten Monat :
Erinnerung an spontanem Zusammentreffen von 1250 Mönchen und des Erhabenen, Buddhas.
Bekanntgabe der Ordensregeln(Vinaya) und der Selbstverpflichtungen.
Dieses Ereignis des Zusammentreffens nennt man „ Djaturonkha – Sannibaat “ (die Gelegenheit des ersten
Zusammentreffens der buddhistischen Mönchsgemeinde zum Rezitieren von Vorschriften der
Ordensregeln ), dazu gehören vier Ereignisse :
1. Versammlung aller 1250 erleuchteter Mönche.
2. Alle versammelten Mönche wurden von Buddha direkt ordiniert.
3. Dieses Treffens war nicht geplant, die 1250 Mönche hatten sich spontan zusammengefunden.
4. Es war am Vollmond im dritten Monat(Makha).
Dieses wichtigen Ereignis sind für Buddhisten ein besonderer Anlass, einen gute Tat zu begehen.
Seitdem feiern alle Buddhisten diesen wichtigen Festtag jedes Jahr Makha – Buscha – Fest