ReadyPlanet.com
dot
dot
Newsletter

dot
dot
Dhamma : Deutsch
dot
bulletUnterweisung in Meditation
bulletREINIGUNG
bulletREICHTUM
bulletBuddhismus in 10 Minuten
bulletEINSTELLUNG ZUR MEDITATION
bulletDhamma Teworohana
bulletFalsche Ansichten
bulletUMGANG MIT DHAMMA-SCHRIFTEN
dot
ธรรมะไทย
dot
bullet พระพุทธศาสนากับเวลา ๑๐ นาที
bulletโคลงโลกนิติ
bulletศาสนพิธี
bulletคนใจดี คนใจร้าย
bulletบวชเพราะแม่ยาย
bulletเสียงสัตว์ 8 ชนิด
bulletคุณธรรมของหัวหน้า
bulletคุณสมบัติของผู้นำ
bulletบาปเกิดจากความจงใจ
bulletดาบสฌานเสื่อม
bulletโคนันทิวิสาล
bulletบุญที่ให้ทานแก่ปลา
bulletความจริงที่ไม่ควรพูด
bulletอาหารไม่บริสุทธิ์
bulletอานิสงส์การแผ่เมตตา
bulletพระมหาสุบิน ๑๖ ข้อ
bulletคมในฝัก
dot
Nachrichten
dot
bulletรูปภาพกิจกรรมของวัด Bilder Von Versammlung
bulletPhoto Album Wat Pah Puritattaram อัลบั้มรูป
bulletKommendes Fest 2024
bulletFeste im Jahr 2024
dot
เวปไซต์อื่น
dot
bulletLuangpumun (หลวงปู่มั่น)
bulletLuangta (หลวงตามหาบัว)
bulletWat Pah Puritattaram1
bulletWat buddhabharami
bulletWat Dhammabharami
bulletdhammayuteurope
bulletWatpa Copenhagen
bulletวัดป่าโกเธนเบิร์ก สวีเดน
bulletThailife
bulletพระไทยดอทเนต
bulletWat Dhammaniwasa Aachen
bulletวัดจักรวรรดิราชาวาส
bulletwatthaivienna วัดไทยเวียนนา
bullet สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
bulletอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
bulletชาวไทย
bulletสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
bulletสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
bulletค้นหารหัสไปรษณีย์ไทย
bulletค้นหาเบอร์โทรศัพท์ (ไทย)
bulletwatpahgiessen
bulletมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
bulletวัดธัมมธโร ออสเตรเลีย




กฐิน article

 

การทอดกฐิน

       การทอดกฐิน     นับว่าเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง  ซึ่งมีช่วงเวลาจำกัดเพียงปีละ ๑ เดือน คือระหว่าง แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น จึงถือกันว่าการทอดกฐินได้บุญมาก ได้อานิสงส์มาก

       คำว่า "กฐิน" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้กว้างขวาง โดยรวมถึงกรรมวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฐินตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนี้

       "กฐิน น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบสำหรับตัดจีวร ;  คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน  ในฤดูกาล  เรียกว่า กฐินกาล (กะถินนะกาน)  คือ  ระยะเวลาตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึง กลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้ เรียกเป็นสามัญว่า  เทศกาลกฐิน  (เทดสะกานกะถิน)  ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน  ก็มี  ก่อนจะถึงกฐินกาล  ผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใด  จะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า "จองกฐิน" การทำพิธีถวายผ้ากฐิน  เรียกว่า  ทอดกฐิน   พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เ รียกว่า ผู้ครองกฐิน ผู้กรานกฐิน หรือองค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือบริวารกฐิน (บอริวานกะถิน) เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธี อนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ กรานกฐิน (กรานกะถิน) ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัย สิทธิพิเศษ ๕ ประการ ซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน"

       ในหนังสือ "ศาสนาสากล"  แบบเรียนศาสนาสากล  ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ  ได้เขียนเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการทอดกฐินไว้ดังนี้

     "คำว่า "กฐิน" หมายถึง กรอบสำหรับขึงผ้าเย็บจีวรซึ่งเรียกว่า สะดึง ฉะนั้นผ้ากฐินก็หมายถึงผ้าที่สำเร็จออกมาโดยการขึงตรึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บ   ความจริงไม้สะดึงนั้นเขาใช้เฉพาะผู้ที่ยังไม่สันทัดในการเย็บจีวรเท่านั้น   สมัยนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องเอาผ้ามาขึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บให้เป็นจีวรแล้ว   อาจหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไป   เพราะมีผู้เย็บจีวรขายโดยเฉพาะมากมาย  นับว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในด้านนี้ไปได้อย่างมากทีเดียว  การทอดกฐิน ก็คือการเอาผ้าที่เป็นจีวรแล้วนั้นไปวางไว้ต่อหน้าสงฆ์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมี ๕ รูป แล้วออกปากถวายสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่งแล้วแต่พระท่านจะมอบหมายกันเอง  แม้สมัยนี้เราจะไม่ต้องใช้สะดึงมาขึงผ้าเย็บจีวรก็ตาม แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่นั่นเอง

       การทอดกฐินมีกำหนดระยะเวลาไว้ ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทอดก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้

       ประเพณีการทอดกฐินนี้  ประชาชนชาวไทยนิยมทำกันมาก  ถือว่าได้อานิสงส์แรง เพราะทำในเวลาจำกัด  ในปัจจุบันนี้มักทำกันเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว   บางทีก็มีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวารซึ่งจัดทำกันไว้อยางประณีตบรรจง บางทีก็มีการฉลององค์กฐินกันก่อนที่จะแห่ไปวัด  ในการแห่งแหนนั้น  บางทีก็ทำกันอย่างสนุกสนาน  ครึกครื้น  มีทั้งทางบกและทางน้ำ ในสมัยนี้ก็มีการแห่ผ้ากฐินไปทางอากาศอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่จะนำผ้ากฐินไปทอดจะสะดวกทางใด ก็ไปทางนั้น

       เหตุที่จะเกิดมีการทอดกฐินกันนั้น เรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป (คือ พระภัททวัคคีย์ ๓๐ นั่นเอง)  ได้เดินทางจากเมืองปาฐา  เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่พอมาถึงเมืองสาเกต   ก็เป็นฤดูฝน เลยต้องพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางต่อไปยังเมืองสาวัตถี ต้องกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง จีวรต่างชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กัน พระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุได้รับกฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า แม้จะออกพรรษาแล้ว แต่ฝนก็ยังไม่ขาดเสียทีเดียว ถ้าหากจะรั้งรอไปอีกเดือนหนึ่ง พอฤดูฝนหายขาดแล้ว พื้นดินก็จะไม่เป็นเปือกตมอีก การเดินทางย่อมสะดวกสบาย ฉะนั้น พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุจำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว  ได้ยับยั้งอยู่เพื่อรับกฐินเสียก่อน  จะได้ไม่ต้องได้รับความลำบากในการเดินทางอีกต่อไป  ต่อมาเมื่อมีปัญหาว่า  ผ้าที่ทายกนำมาถวายนั้น ไม่พอกับจำนวนภิกษุที่จำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้มีจีวรเก่ากว่าเพื่อนและฉลาดในพระธรรมวินัยเป็นผู้รับกฐินและให้ภิกษุนอกนั้นเป็นผู้อนุโมทนา ก็จะได้อานิสงส์ในด้านพระวินัยเท่ากัน.

ความเป็นมาของการทอดกฐิน
       การทอดกฐิน     เป็นการบำเพ็ญบุญที่ได้กระทำสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล     ซึ่งมีที่มาแตกต่างกว่าการถวายทานโดยทั่วไปอยู่ตรงที่การถวายทานอย่างอื่นมักเกิดขึ้น    โดยมีผู้ทูลขอให้พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ส่วนกฐินทานนี้เป็น พุทธานุญาตโดยตรง นับเป็นทานอันเกิดจากพุทธประสงค์โดยแท้


ความหมายของคำว่า "กฐิน"
       คำว่า "กฐิน" มีความหมายโดยนัยต่างๆ ถึง ๔ ประการ คือ
๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ หรือ สะดึง อันเป็นแม่แบบสำหรับขึงผ้าเพื่อความสะดวกในการ ปะ - ตัด - เย็บ ทำจีวร เนื่องจากในสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้ยากจึงต้องมีกรอบไม้สำเร็จรูป ไว้เป็นอุปกรณ์ในการทำ แม้ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องอาศัยไม้ สะดึง เช่นนี้อีกแล้ว แต่ก็ยังคงเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่อย่างเดิม


๒.เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้นตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตต้องมีขนาด กว้างและยาวเพียงพอสำหรับตัดเย็บทำเป็นผ้าสบง จีวร หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน มักนิยมนำผ้าไตร ที่ตัดเย็บและย้อมเป็นผ้าสบง จีวรและสังฆาฏิสำเร็จรูป แล้วไปถวายเป็นผ้ากฐินเพื่อมิให้พระสงฆ์ต้องลำบากในการ ที่จะต้องนำไปตัดเย็บและย้อมอีก


๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การบำเพ็ญบุญในการถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ครบไตรมาส เพื่อให้ท่านได้มีผ้านุ่งห่มใหม่ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ขาดหรือชำรุดแล้วส่วนที่นิยมใช้คำว่า "ทอดกฐิน" แทนคำว่า "ถวายกฐิน" ก็เพราะเวลาที่ถวายนั้น ผู้ถวายจะกล่าว คำถวาย แล้วนำผ้ากฐินวางไว้เบื้องหน้าคณะสงฆ์ โดยมิได้ เจาะจงถวายจำเพาะรูปใดรูปหนึ่งซึ่งเป็นการทอดธุระหมดความกังวลหรือเสียดาย ไม่แสดงความเป็นเจ้าของในผ้า ผืนนั้นโดยยกให้เป็นธุระของพระสงฆ์สุดแต่ท่านจะพิจารณาผู้ที่เหมาะสม

๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ พิธีกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบในการมอบผ้า กฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไปครอง ซึ่งพระสงฆ์จะกระทำพิธีที่เรียกว่า "กรานกฐิน" หลังจากที่ได้รับผ้ากฐิน แล้วในวันเดียวกันนั้นการที่คณะสงฆ์พร้อมใจยกผ้ากฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดก็เนื่องจากได้พิจารณาเห็นแล้วว่า ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันนี้ พระภิกษุรูปนั้นมีคุณสมบัติอันสมควรจะได้รับผ้ากฐิน เช่น เป็นผู้บำเพ็ญสมณธรรมดีเยี่ยม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่าที่สุด เป็นต้น พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนี้เรียกว่า "ผู้กรานกฐิน" หรือ "ผู้ครองกฐิน"


       สำหรับพระภิกษุทั้งหลายที่อยู่ร่วมในพิธีได้อนุโมทนาต่อผู้กรานกฐินและเจ้าภาพผู้ทอดกฐินแล้วนั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้กรานกฐินและพลอยได้รับอานิสงส์กฐินด้วย การรับผ้ากฐินและกรานกฐินนี้นอกจาก จะเป็นการแสดงออกถึง การรู้สามัคคีในหมู่สงฆ์แล้ว ยังแสดงถึงความมีน้ำใจและยกย่องเชิดชูผู้กระทำความดีอีกด้วย


ประเภทของกฐิน
       การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเราได้แยกกฐินออกเป็น ๒ ประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์
       กฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่ทำพิธีทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา ณ พระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑) กฐินเสด็จพระราชดำเนิน เป็นกฐินหลวงที่พระแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปทอดถวายแทน
๒) กฐินต้น เป็นกฐินส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระราชทานแก่วัดใด วัดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ได้
๓) กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงที่โปรดพระราชทานให้แก่หน่วยงานข้าราชการ คฤหบดี พ่อค้า และประชาชน ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานผ้ากฐินนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง แห่งใดแห่งหนึ่ง


       กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจัดนำไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ทั่วไป กฐินราษฎร์นี้นิยมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑) มหากฐิน เป็นกฐินที่นิยมจัดเครื่องบริวารกฐินต่างๆ มากมาย
๒) จุลกฐิน เป็นกฐินน้อยหรือกฐินรีบด่วนเพราะมีเวลาจัดเตรียมการน้อย นิยมทอดกันในวันเพ็ญ กลางเดือน ๑๒ อันเป็นวัดสุดท้ายของระยะเวลาการทอดกฐิน


อานิสงส์กฐิน
       กฐินทานนี้มีอานิสงส์มาก เพราะเป็นทานที่พิเศษยิ่งกว่าทานอื่นใด ด้วยเป็นทั้ง "กาลทาน" และ "สังฆทาน" นับเป็นทานชนิดเดียวที่ผู้ให้และผู้รับได้อานิสงส์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์ ) และฝ่ายผู้ให้ (คฤหัสถ์)

       ฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์)ครั้นรับกฐินแล้วย่อมได้รับ อานิสงส์ตามพระวินัย ๕ ประการ คือ
o เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
o ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
o ฉันโภชนะเป็นหมู่เป็นคณะได้ และฉันโภชนะที่รับถวายภายหลังได้ ไม่เป็นอาบัติ
o เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา ตลอดกาล ๔ เดือน
o ขยายเขตจีวรกาลออกไปได้ถึงกลางเดือน ๔


       ฝ่ายผู้ให้ (ทายกผู้ถวายกฐินทานและผู้มีส่วนร่วมในงานบุญนี้ด้วยการบริจาคทรัพย์ก็ดี     ด้วยการบริจาควัตถุ สิ่งของก็ดี หรือด้วยการขวนขวายช่วยงานก็ดี ) ย่อมได้อานิสงส์อันไพบูลย์ทั้งในภพนี้และภพชาติต่อๆ ไป  อาทิ
oทำให้เป็นผู้มีความมั่งคั่ง
oมั่นคงในโภคทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงาน
oเป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
oเป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส ตั้งมั่นในสมาธิและเข้าถึงธรรมได้ง่าย แม้ละโลก แล้วย่อมได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์

คำถวายกฐิน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

คำแปล

      ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ

หมายเหตุ

ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้

1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว

       "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12  คือ  ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน  ถึงวันกลางเดือน 12  อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)

2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ

1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด คงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้




คอลัมน์ที่ 5

ภาวนาพุทโธ น้ำตาไม่ไหล (หลวงปู่ชา สุภัทโท) article
งานบุญออกพรรษาและกฐินสามัคคี article
ตายเพราะปาก article
กำเนิดสุรา article
สวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น article
วันสารทไทย article
Feste im Jahr 2005 article
วันออกพรรษา article
ตำราเลือกลูกเขย article
คมในฝัก article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
MARQUEE กำหนดการ วันจัดงานประจำปี ๒๕๖๗ วัดป่าภูริทัตตาราม เมืองกีเซ่น   วันอาทิตย์ที่ ๓ มีนาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันมาฆบูชา   วันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๗ จัดงานวันสงกรานต์   วันพฤหัส-อาทิตย์ที่ ๒๓-๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ จัดกิจกรรมบวชเนกขัมมะ   วันอาทิตย์ที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันวิสาขบูชา   วันอาทิตย์ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันอาสาฬหบูชา(เข้าพรรษา)   วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ จัดงานวันออกพรรษา     Feste im Jahr 2023 Wat Pah Puritattaram Giessen Programme    Sonntag 3 Märr 2024 Tambun Wan Makhabuscha    Sonntag 21 April 2024 Tambun Wan Songkran   Do-So 23-26 Mai 2024 Einkehrtage (Buad Nekkama)   Sonntag 26 Mai 2024 Tambun Wan Wisakabuscha    Sonntag 28 Juli 2024 Tambun Wan Ahsarahabuscha (Kao Phansaah)   Sonntag 27 Oktober 2024 Tambun Wan Ohg Phansaah Wat Pah Puritattaram
Sandfeld 12 , 35396 Giessen
Tel. 0641- 877 3000 Fax: 0641 - 3013103
E-mail: phrapattiyo@t-online.de